Karnt Thassanaphak 0

หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย "กฎหมายหมิ่นฯ"

238 signers. Add your name now!
Karnt Thassanaphak 0 Comments
238 signers. Almost there! Add your voice!
95%
Maxine K. signed just now
Adam B. signed just now

คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย "กฎหมายหมิ่นฯ"
(กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข )

นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ

* การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา

* 27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL)

* วันเดียวกัน ได้มีรายงานข่าวการพิจารณาคดีลับที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ กับนายทหารอากาศยศนาวาอากาศตรีซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดี จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่าทหารอากาศนายนี้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของตนที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพล่าสุด วันที่ 30 เมษายน ได้มีการจับกุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โดยไม่ให้ประกันตัวใดๆ

นอกจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของคดีตามมาตรานี้ ที่มีอัตราโทษสูงแต่ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้อำนาจการฟ้องร้องอย่างกว้างขวาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวซึ่งกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดง ความเห็นตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ยังมีความกังวลต่อวิธีการบังคับใช้กฎหมายทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการไต่สวนคดี อีกด้วย

อาทิ การพิจารณาคดีลับ ซึ่ง เป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวดตามกฎหมายสูงสุดที่มีอยู่ โดยก่อนหน้ากรณีนายทหารอากาศ ก็ได้มีการใช้ในคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" เป็นจำเลย จนต่อมาศาลอุทธรณ์ก็ได้ยกคำสั่งลงโทษและให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่าขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ ส่วนกรณีของดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รวมถึงผู้โพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันนั้น ซึ่งเข้าข่ายคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และล่าสุด กรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคัดค้านการให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเกรงจำเลยจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่หมายจับในคดีนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่เคยแสดงท่าทีว่าจะหลบหนีแต่อย่างใด

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

           1. หยุดใช้มาตรา 112 คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินชีวิตตามปรกติ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวเพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎหมายความมั่นคง เพื่อปราบปรามความเห็นต่าง นอกจากจะหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ห้ามการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ทำได้ "เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้" แล้ว ยังขัดกับหลักกฎหมายสากล เช่น ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ที่คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วย
           ทั้งนี้ รัฐพึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งเสริมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มิใช่ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการดำเนินคดีมาสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว แก่ประชาชน อย่างที่เป็นอยู่

           2. ในภาวะที่ยังคงกฎหมายนี้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ควรเปิดเผยกระบวนการสืบสวนสอบสวนและพิจารณาคดีที่เกี่ยวเนื่องให้สาธารณชน รับทราบ และควรมีการออกหมายเรียกก่อนตามกระบวนการดำเนินคดีปรกติ แทนการออกหมายจับหรือเข้าจับกุมทันที

           3. การพิจารณาคดีลับพึงเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวด ไม่ควรอ้างเหตุจำเป็นต้องใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อย่างที่มักอ้างว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน

           4. การปฏิบัติตามกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process) เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความรู้สึกที่เป็นธรรมทั้งของผู้ถูกกล่าวหาและสังคมทั่ว ไป แต่ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ มักถูกหน่วยงานรัฐคัดค้านการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว โดยมักอ้างว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีและ/หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ดังนั้น ทางกลุ่มฯ จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณากรณีเหล่านี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักการขั้นต้นเป็นสำคัญ

1 พฤษภาคม 2554

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" (Article 112 Awareness Campaign)
และผู้ที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์ข้างต้น ดังรายชื่อต่อไปนี้:

(ดูรายชื่อด้านล่าง - ใต้ฉบับภาษาอังกฤษ)

 ....................

Oppose violations to citizen’s rights and freedom through the uses of “lese majeste” law (With the latest case of the arrest of Mr. Somyod) Since 19 September 2006 onward, there have been large amount of individuals who are directly and indirectly effected by the Article 112 of the Criminal Code, which is also known as “lese majeste law”. The statistic from 2005-2009 reveals that there are 547 lese majeste cases altogether. 247 cases have reached the verdict. In April 2011 alone, this law has been used on Thai citizens in a wide number of occasions, as has appeared on the news. Here are the cases: * The violation of rights and freedom of expression of Dr. Somsak Jeamteerasakul to be engaged in public debate on the role of the monarchy in Thai society. The press conference on this matter was held on 24 April 2011. * On 27 April 2011, Crime Suppression Division called Thanapol Eawsakul, the editor of Fah Diew Gun (Same Sky) magazine as a witness to the cases which an individual filed a complaint that the Fah Diew Gun web board (now closed) might have committed lese majeste act. 54 aliases of the posters, the owners of the post, and the commentators of the post from 46 URLs were named. * On the same day, a lese majeste case involving an Air Force Lieutenant Commander took place behind close door at the military court in Bangkok. This Air Force Commander was charged with lese majeste based upon a comment that he posted on his own Facebook page. * On 30 April 2011, Somyot Prueksakasemsuk, a labor activist, leader of the 24 June for Democracy Group, and the managing director of Voice of Thaksin has been arrested under lese majeste law by the Department of Special Investigation at Aranyaprathet immigration. He was not allowed to be bail. Apart from the concern on the rising of lese majeste cases, which have high penalty but vague and clear procedure, the law has been used as political tool by some powerful individuals and groups. They are creating the culture of fear and are affecting the rights and freedom of expression under the democratic system. Article 112: Awareness Group is also concern with the usage of the law before, during, and after the court hearings. For example, the close-door hearing is a strict exception according to the highest law. Prior to the case of the close-door hearing of the Air Force Commander, it was also used during the trial of Darunee Charnchernsilpakul, also known as “Da Torpedo”. After that the Appeal Court annulled the penalty and refers the case to the Constitutional Court to rule whether the close-door trial was constitutional or not. On the case of Dr. Somsak Jeamteerasakul and the individuals who made comment on Fah Diew Gun web board are clear violation of the rights and freedom of expression. For the latest case, Somyot Prueksakasemsuk is not granted the right to bail. The argument from the authorities was that they are afraid that the defendant would flee or would mess with the witnesses. The arrest warrant was issued since February and the accused has never shown any attempt to flee whatsoever. Article 112: Awareness Campaign Group has comments and demands listed below: 1. End the uses of Article 112 to violate rights and freedom of expression and daily livelihood of citizens. Stop creating the culture of fear to control the public. This is the contradiction to the rights and freedom in democratic society. Apart from that, the enforcement of special laws such as security laws to suppress dissidents is violating the Article 29 of the Constitution (the prohibition to limit the rights and freedom of individuals under the constitution could only be made only as needed and cannot violate the key intention points of those rights and freedom”). The laws, apart from violating the constitution, also run against Article 19 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) which protect the rights to freedom of expression. Therefore, the government has the obligation to abide by the Constitution and to promote the right to freedom of expression. Legal loopholes should not be used to create the culture of fear to the citizens as is happening now. 2. Since there has not yet been amendment to the lese majeste law, the investigation and the court hearing should be made known to the general public. The normal warrant should be made using regular legal procedure rather than using arrest warrant or arrest right away. 3. The close trial is a strict exception. It should not be used widely without un-substantive reasons that have been used and cannot be proven such as that the case is “contradicting to peace and public moral”. 4. The due process of law is the basic component toward the feeling of justice by both the accused and the general public. In the past until now, the accused in lese majeste laws are often fell as victims to the authorities. They are not allow to be granted bail or are released for a short while. The authorities often give the reason that the penalty is high and that the accused would flee or/and would mess with the evidences. Therefore, the group demands the court to conduct the lese majeste cases with highest level of precision and highlight their principles as their priority. 1 May 2011 Article 112 Awareness Group and individuals who agree with the above statement:

1. ขวัญระวี วังอุดม 2. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ 3. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ 4. กานต์ทัศนภักดิ์ 5. นภัทร สาเศียร 6. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ 7. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 8. จีรนุช เปรมชัยพร 9. อธิคม จีระไพโรจน์กุล 10. พรเทพ สงวนถ้อย 11. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 12. อนุสรณ์ อุณโณ ‎13. ชลิตา บัณฑุวงศ์ 14. สุลักษณ์ หลำอุบล 15. อัญชลี มณีโรจน์ 16. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร 17. อดิศร เกิดมงคล 18. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ 19. พัชรี แซ่เอี้ยว 20. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 21. นิพาดา ทองคำแท้ 22. ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ 23. ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ 24. วิจักขณ์ พานิช 25. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ 26. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ 27. ชัยธวัช ตุลาธน 28. วันรัก สุวรรณวัฒนา 29. ไชยันต์ รัชชกูล 30. เตือนสิริ ศรีนอก 31. ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ ‎32. ดวงฤทัย เอสะนาชาต้ง 33. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ 34. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ 35. ศราวุฒิ ประทุมราช 36. สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ 37. ประวิตร โรจนพฤกษ์ 38. สุภิตา เจริญวัฒนมงคล 39. รวินทร์ คำโพธิ์ทอง 40. อังคณา นีละไพจิตร 41. สุธารี วรรณศิริ 42. ลักขณา ปันวิชัย 43. สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง 44. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ 45. รจเรข วัฒนพาณิชย์ 46. เอกฤทธิ์ พนเจริญสวัสดิ์ 47. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว 48. จิตรา คชเดช 49. วิภา มัจฉาชาติ 50. เนติ วิเชียรแสน 51. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข 52. ธนาพล อิ๋วสกุล 53. มานา ชุณห์สุทธิวัฒน์ 54. วธู ชุณห์สุทธิวัฒน์ 55. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป 56. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ 57. วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง 58. ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล 59. สุวิทย์ เลิศไกรเมธี 60. จิราพร กิจประยูร 61. สุริยะ ครุฑพันธุ์ 62. อภิณัฐ ภู่ก๋ง 63. ดิน บัวแดง 64. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู 65. ณัฐนพ พลาหาญ 66. อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา 67. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ 68. อุเชนทร์ เชียงเสน 69. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช 70. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง 71. เทวฤทธิ์ มณีฉาย 72. ดวงใจ พวงแก้ว 73. ธีระพล คุ้มทรัพย์ 74. ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ 75. ตากวาง สุขเกษม 76. สุดา รังกุพันธุ์ 77. เทพฤทธิ์ ภาษี 78. คมลักษณ์ ไชยยะ 79. เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร 80. ธีรวรรณ บุญญวรรณ 81. ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ 82. ปุณณวิชญ์ เทศนา 83. ธัญสก พันสิทธิวรกุล 84. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์ 85. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย 86. อาทิชา วงเวียน 87. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ 88. พวงทอง ภวัครพันธุ์ 89. จอน อึ๊งภากรณ์ 90. สมฤดี วินิจจะกูล 91. ตฤณ ไอยะรา 92. นิรมล ยุวนบุณย์ 93. ธนศักดิ์ สายจำปา 94. นันทา เบญจศิลารักษ์ 95. สุรชัย เพชรแสงโรจน์ 96. ศราวุธ ดรุณวัติ 97. สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ 98. แดนทอง บรีน 99. ประทับจิต นีละไพจิตร 100. สุชา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 101. ทองธัช เทพารักษ์ 102. กิตติเดช บัวศรี 103. ธิติ มีแต้ม 104. หทัยกานต์ สังขชาติ 105. ธีรมล บัวงาม 106. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ 107. วิทยา พันธ์พานิชย์ 108. Tyrell Haberkorn 109. นพพร พรหมขัติแก้ว 110. ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ 111. จรินพร เรืองสมบูรณ์ 112. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ 113. วิรุจ ภูริชานนท์ 114. ปราศรัย เจตสันติ์ 115. วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ 116. อนุธีร์ เดชเทวพร ‎117. เชฏฐพงศ์ จงภัทรนิชพันธ์ 118. เสาวนีย์ อเลกซานเดอร์ 119. มธุรส ภิรมย์รักษ์ 120. พรพิศ ผักไหม 121. ภมร ภูผิวผา 122. กฤตธี ระลึกฤาเดช ‎123. สฤณี อาชวานันทกุล 124. วิภา ดาวมณี 125. วัฒนชัย แจ้งไพร 126. ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ 127. อนุราต ซิงห์ ดินด์ซา 128. อัญญกาญ จีระอัญการ 129. ชนรดา นราวศินชัย 130. ภูวิน บุณยะเวชชีวิน 131. Paul Chambers 132. จลารุจ ศิริพานิช 134. พีรเพชร บุรพรัตน์ 135. พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ 136. ภิญญุดา ตันเจริญ 137. ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ 138. ธีรกิจ วิจิตรอนันต์กุล 139. สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา 140. ภาวิณี ชุมศรี 141. Napisa Waitoolkiat 142. มัทนา โกสุมภ์ 143. ณัฎฐา เดชะเอื้ออารีย์ 144. ชาตรี สมนึก 145. อรุณ ศรีสวัสดิ์ 146. ธิกานต์ ศรีนารา 147. เถกิง พัฒโนภาษ 149. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ 150. เชษฐา พวงหัตถ์ 151. โกวิท แก้วสุวรรณ 152. ชาญณรงค์ บุญหนุน 153. วนิดา เจียมรัมย์ 154. เสริม เจียมรัมย์ 155. สิทธิ์ เจียมรัมย์ 156. ประเวศ ประภานุกูล 157. ธีรพงษ์ กันทำ
158. Tyrell Haberkorn
159. วิภา มัจฉาชาติ
160. อรัญญา ศิริผล
161. พนิดา อนันตนาคม
162. อุกฤษณ์ สงวนให้
163. ปริวัตร พรหมเวชยานนท์
164. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
165. พาฝัน ศุภวานิช
166. อภิรัฐ เจะเหล่า
167. กฤตยา อาชวนิจกุล
168. ยุกติ มุกดาวิจิตร
169. เกษม เพ็ญภินันท์
170. ธีร์วนี วงศ์ทองสรรค์
171. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
172. พรพิมล สันทัดอนุวัตร


Links


Share for Success

Comment

238

Signatures